วันพุธที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

งานชิ้นที่2

  โจทย์: การผลิตน้ำตาลทรายจัดว่าเป็น Systemหรือไม่?

ตอบ เป็น
I (Input)
  หลังจากที่ชาวไร่อ้อยตัดอ้อยที่ได้อายุในการตัด คือประมาณ 10 เดือนขึ้นไป หรือแล้วแต่พันธุ์อ้อยก็จะบรรทุกส่งเข้าโรงงานซึ่งปกติจะกำหนดเปิดหีบอ้อยประมาณปลายเดือนพฤศจิกายน หรือเดือนธันวาคมของทุกปี เมื่ออ้อยมาถึงโรงงานจะผ่านระบบจัดคิว แล้วจึงไปที่ห้องชั่งเพื่อแจ้งชื่อหรือหมายเลขชาวไร่อ้อย และชั่งน้ำหนักรวมทั้งอ้อยและรถบรรทุก จากห้องชั่งรถอ้อยแต่ละคันจะไปรอจัดคิวในลานจอดรถหน้าแท่นเทอ้อย เมื่อรถบรรทุกอ้อยถูกยกบนแท่นเทอ้อย อ้อยจะไหลลงสะพานลำเลียงซึ่งมีชุดใบมีดและเครื่องตีอ้อย เพื่อเตรียมอ้อยให้เป็นเส้นใยหรือฝอยละเอียดก่อนเข้าสู่ชุดลูกหีบ ส่วนรถอ้อยที่เทอ้อยออกแล้วจะกลับไปชั่งน้ำหนักรถเปล่าอีกครั้ง เพื่อจะได้ทราบน้ำหนักสุทธิของอ้อย 
เมื่ออ้อยถูกหีบที่ลูกหีบชุดแรกในระยะเวลาพอสมควร ตัวอย่างน้ำอ้อยจากลูกหีบชุดแรกอย่างน้อย 1 ลิตร จะถูกส่งไปในห้องปฎิบัติการ เพื่อนำไปวิเคราะห์หาความหวานของแต่ละคันรถ โดยจะมีสัญญาณไฟฟ้าบอกถึงลำดับคิวของรถนั้นๆ และบอกว่าน้ำอ้อยตัวอย่างของรถแต่ละคันมาถึงแล้ว ซึ่งจะได้ข้อมูลเก็บไว้เป็นหลักฐานว่า อ้อยแต่ละคันรถมีค่าความหวานเป็นเท่าไร หลังจากนั้นค่าความหวานจะถูกส่งไปป้อนคอมพิวเตอร์ เพื่อคำนวณราคาอ้อยของรถแต่ละคัน ตามน้ำหนักและรายชื่อชาวไร่เจ้าของอ้อยที่ได้จากห้องชั่ง ในชุดลูกหีบซึ่งจะมีลูกหีบ 4, 5 หรือ 6 ชุด แตกต่างกันในแต่ละโรงงาน จะหีบน้ำอ้อยออกให้มากที่สุด โดยใช้ระบบการพรมน้ำที่เรียกว่า Compound Imbibitions เพื่อสกัดเอาน้ำตาลในอ้อยออกให้หมดโดยส่วนของกากอ้อยที่ออกจากลูกหีบชุดสุดท้าย จะถูกลำเลียงโดยสะพานลำเลียงเข้าสู่หม้อน้ำเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงผลิตไอน้ำขับเทอร์ไบน์ต่าง ๆ และผลิตกระแสไฟฟ้า เพื่อใช้ในขบวนการผลิตและบริเวณโรงงาน นอกจากนี้ไอน้ำที่ออกจากเทอร์ไบน์ต่าง ๆ ยังสามารถนำไปใช้ในขบวนการผลิตได้อีกด้วย
P (Process)
    สำหรับน้ำอ้อยที่ได้จากชุดลูกหีบ จะถูกปั๊มไปผ่านตะแกรงกรองกากอ้อย แล้วส่งเข้าสู่กรรมวิธีทางวิศวกรรมเคมี เพื่อรักษาคุณภาพน้ำอ้อยอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ โดยการควบคุมของคอมพิวเตอร์ในขั้นตอนต่าง ๆ จนกระทั่งได้น้ำอ้อยใส จึงนำไปต้มเพื่อระเหยน้ำออกและได้ น้ำเชื่อมเข้มข้น ส่วนกากตะกอนจากน้ำอ้อยจะถูกกรองและถูกลำเลียงออกนอกขบวนการผลิตนำเข้าสู่ที่เก็บ เพื่อทำเป็นปุ๋ยให้แก่ชาวไร่อ้อยต่อไป
      น้ำอ้อยใสเมื่อออกจากหม้อต้มลูกสุดท้าย จะได้น้ำเชื่อมดิบ ที่มีความเข้มข้น 60 - 65 บริกส์ และจะถูกนำไปเคี่ยวให้ตกผลึกเป็นเม็ดน้ำตาล ที่มีผลึกน้ำตาลและน้ำเลี้ยงรวมกันอยู่ แล้วจึงปล่อยลงรางกวนเพื่อพักผลึกน้ำตาล ก่อนจะนำไปปั่นแยกผลึกออกจากน้ำเลี้ยงที่หม้อปั่น ในการปั่นแยกแต่ละขั้นตอน จะได้น้ำตาลเอ น้ำตาลบี น้ำตาลซี และกากน้ำตาล เป็นลำดับสุดท้าย
    
สำหรับน้ำตาลเอ เมื่อนำผ่านกระบวนการลดค่าสีด้วย
กรรมวิธีคาร์บอเนชั่น และ ไอ.อี.อาร์ แล้วจึงส่งไปสู่ขั้นตอนการเคี่ยว และการอบแห้ง จะได้ผลิตภัณฑ์น้ำตาลทรายขาว น้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ สำหรับน้ำตาลบี หรือน้ำตาลทรายดิบ จะถูกนำเข้ายุ้งรอการบรรจุกระสอบหรือเทกองในโกดัง เพื่อจำหน่ายเป็นน้ำตาลไปยังต่างประเทศ ส่วนน้ำตาลซี จะนำไปเป็นเชื้อในการเคี่ยวน้ำตาลเอ และน้ำตาลบี ต่อไป สำหรับกากน้ำตาลจะถูกส่งไปทำให้เย็นก่อนจะนำไปเก็บที่ถังเก็บกากน้ำตาล เพื่อรอการขนย้ายไปจำหน่าย
น้ำตาลที่ผลิตได้จะนำไปใช้บริโภคในครัวเรือน และในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น อุตสาหกรรมเครื่องดื่ม อุตสาหกรรมอาหาร หรือของหวานอื่นๆ สำหรับในประเทศไทยมีการบริโภคน้ำตาลประมาณปีละ 2.0 ล้านตัน โดยใช้ในอุตสาหกรรมประมาณร้อยละ 75
O (Output)

  น้ำตาล
  ชานอ้อย
  กากน้ำตาล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น