วันพุธที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2556

บทที่ 8


คำถามท้ายบทที่ 8
1.ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้ โดยเขียนตามความเข้าใจของผู้เรียน
1.1
การนำเสนอผลงานมีวัตถุประสงค์อย่างไร
     ตอบ   มีวัตถุประสงค์ ดังนี้

               1.
ให้ผู้ชมเข้าใจสาระการนำเสนอ               2.ให้ผู้ชมเกิดการประทับใจ ซึ่งจะนำไปสู่ความเชื่อถือในผลงานที่นำเสนอ
1.2
หลักการพื้นฐานสำคัญของการนำเสนอผลงานมีอะไรบ้าง
     ตอบ  หลักการพื้นฐานสำคัญของการนำเสนอผลงาน มีดังนี้

               1.การดึงดูดความสนใจ
               2.ความชัดเจนและความกระชับของเนื้อหา
               3.ความเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย
1.3
การบรรยายสดกับการพากย์มีข้อพิจารณาในการเลือกใช้ต่างกันอย่างไร
     ตอบ  การบรรยายสด เหมาะสำหรับประชุมหรือสัมมนาที่ต้องการให้ผู้ชมมีส่วนร่วม
 การพากย์ เหมาะสำหรับเนื้อหาที่สามารถถ่ายทอดได้โดยไม่ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของผู้ชม

1.4
เครื่องมือที่ใช้ในการนำเสนอผลงานที่ใช้ในปัจจุบันมีอะไรบ้าง
     ตอบ  เครื่องฉายสไลด์    เครื่องฉายแผ่นใส    เครื่องฉาย
Data Projector หรือ LCD Projector
1.5
รูปแบบที่ใช้ในการนำเสนอผลงานที่ใช้ในปัจจุบันมีอะไรบ้าง
     ตอบ  ปัจจุบันมี
2 แบบ คือ
         1.การนำเสนอแบบ Slide Presentation
         2.รูปแบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน(CAI)




บทที่7


คำถามท้ายบทที่ 7
1.จงอธิบายเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบต่างๆว่ามีกี่ประเภท
    ตอบ  เครือข่ายคอมพิวเตอร์ มีดังนี้

             1.อินทราเน็ต(Intranet) เป็นเครือข่ายสำหรับองค์กร ข้อมูลส่วนใหญ่จะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับองค์กร เชื่อมต่อภายในตึกเดียวกัน
             2.เอกซ์ทราเน็ต(Extranet)เป็นเครือข่ายสำหรับองค์กร แต่เปิดให้สมาชิกภายนอกเชื่อมต่อกับเครือข่ายได้
              3.อินเทอร์เน็ต(Internet)เป็นเครือข่ายสาธารณะที่ไม่มีเจ้าของ ทุกคนสามารถเชื่อมต่อได้
2.อินทราเน็ต(Intranet)
หมายความว่าอย่างไร
   ตอบ  อินทราเน็ต(
Intranet)  หมายถึง เป็นเครือข่ายสำหรับองค์กร ข้อมูลส่วนใหญ่จะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับองค์กร เชื่อมต่อภายในตึกเดียวกัน
3.
จงยกตัวอย่างแหล่งข้อมูลการสืบค้นบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
    ตอบ  
http://www.google.com 
              http://www.altavista.com        
             http://www.excite.com   เป็นต้น
 4.จงอธิบายวิธีการสืบค้นข้อมูลจากเว็บไซต์ Google
พอสังเขป
     ตอบ  พิมพ์คำที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่ต้องการค้นหาเพียง
2-3คำลงไป แล้วกดแป้นEnter หรือคลิกที่ปุ่ม Go บนหน้าจอ Google ก็จะแสดงเว็บที่ค้นหา
5.Digital library
หมายความว่าอย่างไร
     ตอบ 
Digital library หมายความว่า ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์
6.
จงยกตัวอย่างแหล่งข้อมูลเว็บไซต์ประเภทของการศึกษา
     ตอบ  
http://www.school.net.th  
               http://www.learn.in.th  

บทที่ 6


คำถามท้ายบทที่ 6
1.อินเทอร์เน็ต(Internet) หมายความว่าอย่างไร
     ตอบ  อินเทอร์เน็ต คือ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าด้วยกัน

2.
จงอธิบายความสำคัญของอินเทอร์เน็ตทางด้านการศึกษาว่ามีอะไรบ้าง
       ตอบ  ด้านการศึกษามีความสำคัญ ดังนี้

                 1.สามารถใช้เป็นแหล่งค้นคว้าหาข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลทางวิชาการ  ข้อมูลด้านการบันเทิง  ด้านการแพทย์ และอื่นๆที่น่าสนใจ
                  2.ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตจะทำหน้าที่เปรียบเสมือนเป็นห้องสมุดขนาดใหญ่3.นักศึกษาสามารถใช้อินเทอร์เน็ตติดต่อกับมหาลัยหรือโรงเรียนอื่นๆเพื่อค้นหาข้อมูลที่กำลังศึกษาอยู่ได้ ทั้งที่ข้อมูลที่เป็นข้อความเสียง ภาพเคลือนไหวต่างๆ
3.
จงบอกประโยชน์ของอินเทอร์เน็ตที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
       ตอบ   ประโยชน์ของอินเทอร์เน็ตที่ใช้ในชีวิตประจำวัน  ได้แก่

                      1.ใช้แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร สะดวกและรวดเร็ว
                      2.ใช้สืบค้นข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่างๆทั่วโลกได้
                      3.ใช้แลกเปลี่ยนข้อมูลกับเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างระบบ
                      4.สามารถส่งข้อมูลได้หลายรูปแบบ
                      5.ให้ความบันเทิงในรูปแบบต่างๆ เช่น การฟังเพลง เล่นเกม เป็นต้น
                      6.ใช้สื่อสารด้วยข้อความ
                      7.ใช้ส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์
                       8.ซื้อขายสินค้าและบริการ
4.การติดต่อโดยใช้สายโทรศัพท์ผ่านอุปกรณ์ Modem
หมายความว่าอย่างไร
      ตอบ  คือการแปลงสัญญาณคอมพิวเตอร์ให้เป็นสัญญาณโทรศัพท์และแปลงสัญญาณโทรศัพท์ให้เป็นสัญญาณคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ที่ใช้ในการแปลงสัญญาณดิจิทัลจากคอมพิวเตอร์เป็นสัญญาณแอนาล็อกผ่านสายโทรศัพท์ไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ปลายทาง และขณะเดียวกันยังสามารถแปลงสัญญาณแอนาล็อกกลับเป็นสัญญาณดิจิทัลได้
5.ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต www มีประโยชน์อย่างไร
      ตอบ  เป็นบริการระบบข่าวสารที่มีข้อมูลอยู่ทุกแห่งในโลก เช่น เอกสารรูปภาพ ภาพเคลื่อนไหวและเสียง เป็นต้น

6.จงยกตัวอย่างประโยชน์ของ E-mail
      ตอบ   เช่น การรับ-ส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งสิ่งที่ส่งอาจเป็นข้อมูล รูปภาพ เสียงไปถึงผู้รับ ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดในโลกได้อย่างรวดเร็วภายในเวลาไม่กี่วินาที

บทที่ 5


คำถามท้ายบทที่  5
1.ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์หมายความว่าอย่างไร
      ตอบ  ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หมายถึง การเชื่อมโยงต่อระบบคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน โดยการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์แต่ละตัวที่ใช้ทำงานเข้าหากัน

2.
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีประโยชน์อย่างไร
      ตอบ  มีประโยชน์ในเรื่องของการสื่อสารข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ที่รวดเร็วขึ้น

3.
ระบบเครือข่ายในบริเวณเฉพาะที่หมายความว่าอย่างไร
       ตอบ   ระบบเครือข่ายในบริเวณเฉพาะที่ หมายถึง การเชื่อมต่อเครือข่ายในด้านการใช้ข้อมูลร่วมกัน

4.
ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตหมายความว่าอย่างไร
       ตอบ  ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หมายถึง การเชื่อมโยงต่อกันทั่วโลก

5.
ระบบเครือข่ายร่วมปฏิบัติการหมายความว่าอย่างไร
       ตอบ  ระบบเครือข่ายร่วมปฏิบัติการ หมายถึง ระบบเครือข่ายที่ทำให้เกิดการรวมพลังของคอมพิวเตอร์เครือข่ายมาทำงานร่วมกัน

6.
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีกี่ประเภทอะไรบ้าง
       ตอบ   ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ มี
3 ประเภท คือ
                 1.เครือข่ายแลนหรือเครือข่ายบริเวณเฉพาะที่
                 2.เครือข่ายแมนหรือเครือข่ายบริเวณนครหลวง3.เครือข่ายแวนหรือเครือข่ายบริเวณกว้าง
7.รูปแบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีกี่รูปแบบอะไรบ้าง
      ตอบ  มี
2 รูปแบบ คือ 1.เครือข่ายเชิงกายภาพ  2.เครือข่ายเชิงตรรกยะ

บทที่ 4


คำถามท้ายบทที่ 4
1.ซอฟต์แวร์ คืออะไร และทำหน้าที่อย่างไร
     ตอบ  ซอฟต์แวร์ หมายถึง ชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ใช้สั่งงานให้คอมพิวเตอร์ทำงาน

2.ซอฟต์แวร์มีกี่ประเภท อะไรบ้าง
     ตอบ   มี
2 ประเภท คือ 1.ซอฟต์แวร์ระบบ  2.ซอฟต์แวร์ประยุกต์
3.ซอฟต์แวร์ระบบ คืออะไร
     ตอบ  ซอฟต์แวร์ระบบ คือ ดำเนินงานพื้นฐานต่างๆของระบบคอมพิวเตอร์ เช่น รับข้อมูลจากแผงแป้นแล้วแปลความหมายเพื่อให้คอมพิวเตอร์เข้าใจ นำข้อมูลไปแสดงผลบนหน้าจอ

4.ซอฟต์แวร์ประยุกต์ คืออะไร
      ตอบ  ซอฟต์แวร์ประยุกต์ คือเป็นโปรแกรมที่ออกแบบมาเพื่อการใช้งานเฉพาะเรื่องตามที่เราต้องการ เช่นงานพิมพ์เอกสาร งานพิมพ์ราบงาน วาดภาพ เล่นเกม ซึ่งเน้นการใช้งานอย่างสะดวก

5.ซอฟต์แวร์เฉพาะงาน คืออะไร
     ตอบ  ซอฟต์แวร์เฉพาะงาน คือ เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่ช่วยในการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ในหน้าที่เฉพาะด้านบางอย่าง เช่น การตรวจหาและกำจัดไวรัสคอมพิวเตอร์ การจัดเรียงข้อมูล เป็นต้น

6.ซอฟต์แวร์มีความสำคัญและจำเป็นต่องานคอมพิวเตอร์อย่างไร
      ตอบ ซอฟต์แวร์นั้นสามารถสั่งให้คอมพิวเตอร์อ่านข้อมูล แปลความหมาย และทำการประมวลผลและส่งผลลัพธ์ออกมาในรูปแบบสารสนเทศตามที่เราต้องการ ถ้าไม่มีซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ก็ไม่สามารถทำงานตามที่เราต้องการได้

7.ซอฟต์แวร์และภาษาคอมพิวเตอร์เกี่ยวข้องกันอย่างไร
      ตอบ   ซอฟต์แวร์จะเป็นตัวแปลภาษาคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะแปลภาษาโดยคำสั่งในระบบเลขฐานสอง

8.ระบบปฏิบัติการคืออะไร ทำหน้าที่อะไร
       ตอบ   ระบบปฏิบัติการ คือ เป็นซอฟต์แวร์ที่ควบคุมกิจกรรมทั้งหมดของคอมพิวเตอร์  ระบบปฏิบัติการใช้ในการบริหารข้อมูลและทำแฟ้มข้อมูลภายในคอมพิวเตอร์

บทที่ 3


คำถามท้ายบทที่ 3
1.คอมพิวเตอร์หมายถึงอะไร และมีประโยชน์อย่างไร
      ตอบ   คอมพิวเตอร์ คือ เป็นเครื่องมือหรืออุปกรณ์ประเภทอิเล็กทรอนิกส์ที่ทำงานด้วยคำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือโปรแกรมต่างๆ สามารถเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่ายได้หลายแบบ รวมทั้งเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์ 
1.มีความเร็วในการทำงาน
                             2.มีประสิทธิภาพในการทำงานสูง
                             3.มีความถูกต้องแม่นยำตามโปรแกรมที่สั่งงานและข้อมูลที่ใช้
                            4.เก็บข้อมูลได้มาก ไม่ต้องใช้เอกสารและตู้เก็บ
                            5.สามารถโอนย้ายข้อมูลจากเครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่งโดยผ่านระบบเครือข่ายได้รวดเร็วและสะดวก
2.
คอมพิวเตอร์มีที่มาอย่างไร
     ตอบ  เริ่มจากการคิดค้นของชาวจีนโดยการประดิษฐ์ลูกคิด ต่อมาชาวฝรั่งเศสได้ประดิษฐ์เครื่องคิดเลขขึ้นมาเมื่อปีพ.ศ.
2185 และในปีพ.ศ.2376 ชาร์ล แบบเบจ ได้สร้างเครื่องคำนวณที่อาศัยโปรแกรมเป็นเครื่องแรกของโลกจึงได้รับยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งคอมพิวเตอร์
3.
ส่วนประกอบสำคัญของคอมพิวเตอร์ได้แก่อะไรบ้าง
      ตอบ  
1.ฮาร์ดแวร์   2. ซอต์ฟแวร์  3.ข้อมูล  4.บุคลากร
4.
ระบบคอมพิวเตอร์หมายถึงอะไร ส่วนประกอบที่สำคัญของระบบคอมพิวเตอร์ได้แก่อะไร
      ตอบ  ระบบคอมพิวเตอร์ หมายถึง กรรมวิธีที่คอมพิวเตอร์ทำการใดๆกับข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่เป็นประโยชน์ตามความประสงค์ของผู้ใช้มากที่สุด ส่วนประกอบที่สำคัญคือ
1.ฮาร์ดแวร์   2. ซอต์ฟแวร์  3.ข้อมูล  4.บุคลากร
5.
ฮาร์ดแวร์ หมายถึงอะไร ส่วนประกอบที่สำคัญของฮาร์ดแวร์ได้แก่อะไร
      ตอบ  ฮาร์ดแวร์ หมายถึง ตัวเครื่องและอุปกรณ์ส่วนต่างๆที่เราสามารถสัมผัสและจับต้องได้  ฮาร์ดแวร์ประกอบด้วยส่วนที่สำคัญ
4 ส่วน คือ 1.ส่วนประมวณผล  2.ส่วนความจำ  3.อุปกรณ์รับเข้าและส่งออก  4.อุปกรณ์หน่วยเก็บข้อมูล
6.
ส่วนประกอบใดของอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่มีหน้าที่หลักในการควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์เปรียบเสมือนส่วนสมองของระบบคอมพิวเตอร์
     ตอบ  
CPU
7.หน่วยคอมพิวเตอร์แบบแรม(RAM)และแบบรอม(ROM)
ของหน่วยความจำหลักแตกต่างกันอย่างไร
      ตอบ  หน่วยความจำแรมเป็นหน่วยความจำที่เก็บข้อมูลได้ชั่วคราวหากปิดเครื่องหรือไม่มีกระแสไฟฟ้าข้อมูลก็จะลบหายไป  แต่หน่วยความจำรอมสามารถเก็บข้อมูลได้ถาวรซึ่งเป็นหน่วยความจำที่ไว้ใช้เก็บโปรแกรม

 8.จานบันทึกข้อมูล(Hard Disk)
ประกอบด้วยอะไร ทำหน้าที่อย่างไร
      ตอบ  จานบันทึกข้อมูลประกอบด้วย แผ่นจานแม่เหล็กหลายแผ่น และเครื่องขับจาน ทำหน้าที่หมุนจานแม่เหล็กด้วยความเร็วสูง มีหัวแม่เหล็กทำหน้าที่อ่านและเขียนข้อมูลต่างๆลงบนผิวของแผ่น

9.บอกความหมายของคำต่อไปนี้เมกะไบต์(Megabyte) กิกะไบต์(Gigabyte) พิกเซล(Pixel) จิกะเฮิร์ซ(GHz)

       ตอบ  คือขนาดของการเก็บข้อมูล

10.จอภาพ แป้นพิมพ์ และเมาท์ ทำหน้าที่อย่างไรในเครื่องคอมพิวเตอร์
      ตอบ  จอภาพ ทำหน้าที่แสดงผล  แป้นพิมพ์ ทำหน้าที่รับเข้าข้อมูลจากการกดแป้นพิมพ์เพื่อส่งต่อไปให้เครื่องคอมพิวเตอร์   เมาท์ ทำหน้าที่ ในการควบคุมตัวชี้ที่ปรากฎบนจอภาพ ให้สามารถเลื่อนไปยังตำแหน่งต่างๆที่ต้องการ

บทที่ 2


                                                    คำถามท้ายบทที่ 2
1.คำว่าระบบ
และวิธีการเชิงระบบ หมายถึงอะไร
     ตอบ   
ระบบหมายถึง การทำงานขององค์ประกอบย่อยๆอย่างอิสระแต่มีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน จนกลายเป็นโครงสร้างที่สมบูรณ์ของแต่ละงาน สามารถตรวจสอบและปรับปรุงแก้ไขได้ทุกขั้นตอนระบบจึงเป็นหัวใจสำคัญของการดำเนินงานทุกประเภท
          วิธีการเชิงระบบหมายถึง เป็นกระบวนการทำงานอย่างมีแบบแผนชัดเจนในการนำเนื้อหาความรู้ด้านต่างๆ ซึ่งอาจจะเป็นวิธีการหรือผลผลิตมาประยุกต์ใช้อย่างเป็นขั้นตอน เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้วิธีระบบยังเป็นการช่วยป้องกันและแก้ไขข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นด้วย
2.
องค์ประกอบสำคัญของวิธีระบบได้แก่อะไร
      ตอบ   องค์ประกอบที่สำคัญมี
3 ประการ ได้แก่
                1.ปัจจัยนำเข้า (INPUT)
                2.กระบวนการ (PROCESS)          
                3.ผลลัพธ์ (OUTPUT)
3.
ระบบสารสนเทศ หมายถึงอะไร
       ตอบ  ระบบสารสนเทศ หมายถึง การประมวลผลข้อมูลข่าวสารอย่างเป็นขั้นตอน และเป็นกระบวนการเพื่อให้ข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์สูงสุด และเป็นข้อสรุปที่สามารถนำไปใช้ในการตัดสินใจเพื่อปฏิบัติการเกี่ยวกับข้อมูล

4.
องค์ประกอบหลักของระบบสารสนเทศ ได้แก่อะไร
      ตอบ  องค์ประกอบหลักของสารสนเทศประกอบด้วย
2 ส่วน ได้แก่
                1.
ระบบการคิด  กระบวนการในการจัดลำดับ จำแนก แจกแจง และจัดหมวดหมู่       
                
2.ระบบเครื่องมือ  เครื่องมือที่นำมาใช้ในการจัดเก็บข้อมูล รวบรวม และเผยแพร่
5.
สารสนเทศด้านจุดมุ่งหมาย ด้านขั้นตอน และสารสนเทศทั่วไปแต่ละด้านประกอบด้วยอะไร
      ตอบ  สารสนเทศด้านจุดมุ่งหมาย ประกอบไปด้วย   ข้อมูล(
Data)  สารสนเทศ(Information)  ความรู้(Knowledge)  ปัญญา(Wisdom)

              สารสนเทศด้านขั้นตอน  ประกอบไปด้วย   ข้อมูลนำเข้า(
Input)  กระบวนการ(Process)   และผลลัพธ์(Output)
             สารสนเทศทั่วไป  ประกอบไปด้วย  เครื่องคอมพิวเตอร์และเครือข่ายสื่อสารข้อมูล(
Hardware)  ข้อมูล(Data)  สารสนเทศ(Information)  โปรแกรมหรือซอต์ฟแวร์(Software)  บุคลากรด้านคอมพิวเตอร์(Peopleware)


6.โดยทั่วไปการจัดระบบสารสนเทศมีขั้นตอนการจัดอย่างไร
        ตอบ  โดยการรวบรวมและวิเคราะห์ปัญหา ข้อมูล วิธีการ ทรัพยากรณ์ เพื่อแก้ปัญหาและประเมินผลลัพธ์ที่ได้ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ซึ่งประกอบด้วย
3ขั้นตอน ดังนี้
                                                                            1.
การวิเคราะห์ระบบ                                                                            2.การสังเคราะห์ระบบ
                                                                            3.การสร้างแบบจำลอง
7.ระบบสารสนเทศระดับบุคคล ระดับกลุ่ม กับระดับองค์กรแตกต่างกันอย่างไร
           ตอบ   สารสนเทศระดับบุคคล =เสริมประสิทธิภาพและเพิ่มผลงานให้แต่ละบุคคล
                     สารสนเทศระดับกลุ่ม =เสริมการทำงานของกลุ่มบุคคลเพื่อให้มีประสิทธิภาพ        
                     สารสนเทศระดับองค์กร =สนับสนุนการดำเนินงานขององค์กรในภาพรวม และอำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานร่วมกันของหลายแผนก

8.
ข้อมูลและความรู้คืออะไร มีความสำคัญกับสารสนเทศอย่างไร
       ตอบ  
ข้อมูลหมายถึง ข้อเท็จจริงที่ปรากฏให้เห็นสามารถรับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัสทั้งห้า
          ความรู้หมายถึง สภาวะทางสติปัญญาของมนุษย์ในการตีความสิ่งเร้าทั้งที่อยู่ภายในและภายนอกด้วยความเข้าใจสาระของเนื้อหา กระบวนการ และขั้นตอน
9.
การประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศมีกี่ขั้นตอนอย่างไร
      ตอบ    การประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศมี
3
ขั้นตอน ดังนี้
               
 1.
การรวบรวมข้อมูล หมายถึง การเก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งกำเนิด          
                  
2.การบำรุงรักษาและประมวลผลข้อมูล หมายถึง การเก็บรักษาข้อมูลให้ใช้ได้ตลอดเวลา
                  3.การจัดการข้อมูล หมายถึง การสร้างระบบจัดการข้อมูลเป็นจำนวนมาก ให้สามารถนำมาใช้งานได้อย่างรวดเร็วทันเวลา
10.
จงกล่าวถึงเครือข่ายสื่อสารข้อมูลที่มีขนาดพื้นที่และจำนวนเครื่องที่ใช้งานแตกต่างกัน
        ตอบ    
1.แลน(LAN) คือเครือข่ายบริเวณเฉพาะที่ จำกัดเขตเฉพาะภายในบริเวณอาคารหรือกลุ่มอาคารที่อยู่ใกล้กัน เนื่องจากข้อจำกัดของตัวกลางที่ใช้ส่งข้อมูล เช่น ภายในรั้วโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย เป็นต้น
             2.แวน(WAN) คือเครือข่ายบริเวณกว้างระยะทางมากกว่า 10 กิโลเมตรขึ้นไปจนมากกว่าพันกิโลเมตร ปกติเชื่อมโยงด้วยระบบสื่อสารสาธารณะ เช่น สายโทรศัพท์   เครือข่ายเส้นใยแก้วนำแสง   เครือข่ายสัญญาณดาวเทียม เป็นต้น
             3.อินเทอร์เน็ต(Internet) คือเครือข่ายขนาดใหญ่ ประกอบด้วยเครือข่ายแวนจำนวนมากซึ่งครอบคลุมพื้นที่กว้างไกลทั่วโลก


บทที่ 1

วันพุธที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2556


 การติดตามทางอีเมล


ผู้ติดตามเป็น เครื่องมือที่ช่วยให้ผู้อ่านที่สนใจในบล็อกของคุณรู้ความเคลื่อนไหว รู้ว่าคุณได้สร้างบท
 ความอะไรใหม่ๆค่ะ และในกรณีที่คุณอนุญาติให้แสดงความคิดเห็นได้เฉพาะสมาชิกผู้ที่ติดตามบล็อก ของคุณก็สามารถแสดงความคิดเห็นได้ การสร้าง Gadget ผู้ติดตาม มีขั้นตอน ดังนี้




ขั้นตอนที่ 1.เข้าสู่บล็อก
ไปที่ การออกแบบ > องค์ประกอบของหน้า เลือก เพิ่ม Gadget

ขั้นตอนที่ 2.เลือก Gadget เพิ่มผู้ติดตาม

ขั้นตอนที่ 3.ตั้งค่าส่วนต่างๆของ Gadget ผู้ติดตาม
คุณ สามารถเลือกสีได้โดยการคลิกที่สีที่ต้องการเปลี่ยนจะมีหน้าเลือกสีแสดงขึ้น มาคุณสามารถเลือกสีที่คุณต้องการได้เลยค่ะ หรือถ้าคุณไม่ต้องการตั้งค่าอะไรให้ยุ่งยากก็สามารถติ๊กถูกหน้าข้อความ ใช้ ลักษณะเริ่มต้นของเทมเพลต ได้เลยค่ะ

ปุ่มย้อนกลับ ก็คือไม่ต้องการ Gadget นี้เมื่อคลิกก็จะย้อนไปให้คุณเลือก Gadget ใหม่ค่ะ
ปุ่มยกเลิก เมื่อคุณไม่ต้องการสร้าง Gadget แล้ว เมื่อคลิกก็จะทำการออกจากหน้าต่างสร้าง Gadget ทั้นทีค่ะ
ปุ่มบันทึก เมื่อคุณตั้งค่าส่วนต่างๆของ Gadget เสร็จเรียบร้อยแล้ว

ตัวอย่าง Gadget ผู้ติดตาม (Followers) จะเป็นดังรูปเลยค่ะ


Read more: http://www.pakamasblog.com/2011/12/gadget-followers.html#ixzz2bLRoySE5

วันพุธที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

งานชิ้นที่2

  โจทย์: การผลิตน้ำตาลทรายจัดว่าเป็น Systemหรือไม่?

ตอบ เป็น
I (Input)
  หลังจากที่ชาวไร่อ้อยตัดอ้อยที่ได้อายุในการตัด คือประมาณ 10 เดือนขึ้นไป หรือแล้วแต่พันธุ์อ้อยก็จะบรรทุกส่งเข้าโรงงานซึ่งปกติจะกำหนดเปิดหีบอ้อยประมาณปลายเดือนพฤศจิกายน หรือเดือนธันวาคมของทุกปี เมื่ออ้อยมาถึงโรงงานจะผ่านระบบจัดคิว แล้วจึงไปที่ห้องชั่งเพื่อแจ้งชื่อหรือหมายเลขชาวไร่อ้อย และชั่งน้ำหนักรวมทั้งอ้อยและรถบรรทุก จากห้องชั่งรถอ้อยแต่ละคันจะไปรอจัดคิวในลานจอดรถหน้าแท่นเทอ้อย เมื่อรถบรรทุกอ้อยถูกยกบนแท่นเทอ้อย อ้อยจะไหลลงสะพานลำเลียงซึ่งมีชุดใบมีดและเครื่องตีอ้อย เพื่อเตรียมอ้อยให้เป็นเส้นใยหรือฝอยละเอียดก่อนเข้าสู่ชุดลูกหีบ ส่วนรถอ้อยที่เทอ้อยออกแล้วจะกลับไปชั่งน้ำหนักรถเปล่าอีกครั้ง เพื่อจะได้ทราบน้ำหนักสุทธิของอ้อย 
เมื่ออ้อยถูกหีบที่ลูกหีบชุดแรกในระยะเวลาพอสมควร ตัวอย่างน้ำอ้อยจากลูกหีบชุดแรกอย่างน้อย 1 ลิตร จะถูกส่งไปในห้องปฎิบัติการ เพื่อนำไปวิเคราะห์หาความหวานของแต่ละคันรถ โดยจะมีสัญญาณไฟฟ้าบอกถึงลำดับคิวของรถนั้นๆ และบอกว่าน้ำอ้อยตัวอย่างของรถแต่ละคันมาถึงแล้ว ซึ่งจะได้ข้อมูลเก็บไว้เป็นหลักฐานว่า อ้อยแต่ละคันรถมีค่าความหวานเป็นเท่าไร หลังจากนั้นค่าความหวานจะถูกส่งไปป้อนคอมพิวเตอร์ เพื่อคำนวณราคาอ้อยของรถแต่ละคัน ตามน้ำหนักและรายชื่อชาวไร่เจ้าของอ้อยที่ได้จากห้องชั่ง ในชุดลูกหีบซึ่งจะมีลูกหีบ 4, 5 หรือ 6 ชุด แตกต่างกันในแต่ละโรงงาน จะหีบน้ำอ้อยออกให้มากที่สุด โดยใช้ระบบการพรมน้ำที่เรียกว่า Compound Imbibitions เพื่อสกัดเอาน้ำตาลในอ้อยออกให้หมดโดยส่วนของกากอ้อยที่ออกจากลูกหีบชุดสุดท้าย จะถูกลำเลียงโดยสะพานลำเลียงเข้าสู่หม้อน้ำเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงผลิตไอน้ำขับเทอร์ไบน์ต่าง ๆ และผลิตกระแสไฟฟ้า เพื่อใช้ในขบวนการผลิตและบริเวณโรงงาน นอกจากนี้ไอน้ำที่ออกจากเทอร์ไบน์ต่าง ๆ ยังสามารถนำไปใช้ในขบวนการผลิตได้อีกด้วย
P (Process)
    สำหรับน้ำอ้อยที่ได้จากชุดลูกหีบ จะถูกปั๊มไปผ่านตะแกรงกรองกากอ้อย แล้วส่งเข้าสู่กรรมวิธีทางวิศวกรรมเคมี เพื่อรักษาคุณภาพน้ำอ้อยอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ โดยการควบคุมของคอมพิวเตอร์ในขั้นตอนต่าง ๆ จนกระทั่งได้น้ำอ้อยใส จึงนำไปต้มเพื่อระเหยน้ำออกและได้ น้ำเชื่อมเข้มข้น ส่วนกากตะกอนจากน้ำอ้อยจะถูกกรองและถูกลำเลียงออกนอกขบวนการผลิตนำเข้าสู่ที่เก็บ เพื่อทำเป็นปุ๋ยให้แก่ชาวไร่อ้อยต่อไป
      น้ำอ้อยใสเมื่อออกจากหม้อต้มลูกสุดท้าย จะได้น้ำเชื่อมดิบ ที่มีความเข้มข้น 60 - 65 บริกส์ และจะถูกนำไปเคี่ยวให้ตกผลึกเป็นเม็ดน้ำตาล ที่มีผลึกน้ำตาลและน้ำเลี้ยงรวมกันอยู่ แล้วจึงปล่อยลงรางกวนเพื่อพักผลึกน้ำตาล ก่อนจะนำไปปั่นแยกผลึกออกจากน้ำเลี้ยงที่หม้อปั่น ในการปั่นแยกแต่ละขั้นตอน จะได้น้ำตาลเอ น้ำตาลบี น้ำตาลซี และกากน้ำตาล เป็นลำดับสุดท้าย
    
สำหรับน้ำตาลเอ เมื่อนำผ่านกระบวนการลดค่าสีด้วย
กรรมวิธีคาร์บอเนชั่น และ ไอ.อี.อาร์ แล้วจึงส่งไปสู่ขั้นตอนการเคี่ยว และการอบแห้ง จะได้ผลิตภัณฑ์น้ำตาลทรายขาว น้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ สำหรับน้ำตาลบี หรือน้ำตาลทรายดิบ จะถูกนำเข้ายุ้งรอการบรรจุกระสอบหรือเทกองในโกดัง เพื่อจำหน่ายเป็นน้ำตาลไปยังต่างประเทศ ส่วนน้ำตาลซี จะนำไปเป็นเชื้อในการเคี่ยวน้ำตาลเอ และน้ำตาลบี ต่อไป สำหรับกากน้ำตาลจะถูกส่งไปทำให้เย็นก่อนจะนำไปเก็บที่ถังเก็บกากน้ำตาล เพื่อรอการขนย้ายไปจำหน่าย
น้ำตาลที่ผลิตได้จะนำไปใช้บริโภคในครัวเรือน และในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น อุตสาหกรรมเครื่องดื่ม อุตสาหกรรมอาหาร หรือของหวานอื่นๆ สำหรับในประเทศไทยมีการบริโภคน้ำตาลประมาณปีละ 2.0 ล้านตัน โดยใช้ในอุตสาหกรรมประมาณร้อยละ 75
O (Output)

  น้ำตาล
  ชานอ้อย
  กากน้ำตาล

วันพุธที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2556

1.smartphoneคืออะไร มีประโยชน์อย่างร
 โทรศัพท์ที่รองรับระบบปฏิบัติการ ต่างๆได้ เสมือนยกเอาคุณสมบัติที่ PDA และคอมพิวเตอร์มาไว้ในโทรศัพท์ เช่น iOS (ที่ลงในมือถือรุ่น Iphone) ,BlackBerry OS, Android OS Windows phone 7 และ Symbian Os (Nokia) เป็นต้น ซึ่งทำให้ สมาร์ทโฟน สามารถลงโปแกรมเพิ่มเติม (Application) ได้
คุณสมบัติของสมาร์ทโฟน
1.การเชื่อมต่ออุปกรณ์ไร้สาย นี่เป็นคุณสมบัติอย่างหนึ่งที่จะทำให้ smart-Phone เช่น นั่นคือการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น คอมพิวเตอร์ PDA โทรศัพท์เครื่องอื่น พริ้นเตอร์ หรือกล้องดิจิตอล ผ่านทาง อินฟราเรด บลูทูธ หรือ Wi-Fi
2.สามารถรองรับไฟล์ Multimedia ได้หลากหลายรูปแบบ เช่นไฟล์ ภาพ,ภาพเคลื่อนไหว เช่นภาพเคลื่อนไหวสกุล .gif เสียง ซึ่งก็จะมีหลายรูปแบบ เช่น ไฟล์ Wave, MP3, Midi ต่อไปเป็นไฟล์วิดีโอ ซึ่งจะสามารถรองรับภาพเคลื่อนไหว หรือภาพเคลื่อนไหวพร้อมเสียง เช่นสกุล .3gp .mp4 เป็นต้น
1. ใช้ในการสื่อสาร
2.สะดวกต่อการพกพา
3.สามารถนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ได้
4.ใช้ในการดูหนัง ฟังเพลง
5.สามารถรับรู้ข่าวสารต่างๆได้
 ที่มา http://www.mindphp.com วันที่ 18 มิถุนายน 2556


2.android คืออะไร 
น่าจะเป็นที่สงสัยของใครหลายคน อย่างน้อยก็คนที่มาค้นเจอหน้านี้ล่ะ 555 และอย่างที่บอกว่า จะอธิบายง่ายๆครับ ดังนี้
รู้จักโทรศัพท์มือถือยี่ห้อ nokia หรือเปล่าครับ ? ถ้ารู้เคยได้ยิน symbian หรือเปล่าครับ?
รู้จักPDAยี่ห้อ palm หรือเปล่าครับ ? ถ้ารู้เคยได้ยิน palmOS หรือเปล่าครับ?
รู้จักโทรศัพท์มือถือยี่ห้อ iphone หรือเปล่าครับ ? ถ้ารู้เคยได้ยิน iOS หรือเปล่าครับ?
รู้จักโทรศัพท์มือถือหลายยี่ห้อ ที่ใช้ windows mobile หรือเปล่าครับ?
รู้จัก คอมพิวเตอร์ MAC ที่ใช้ MAC OS หรือเปล่าครับ เช่น OS X snow leopard
รู้จัก คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ ที่ใช้ windows หรือ linux หรือเปล่าครับ (ถ้าไม่ได้ใช้แล้วกดมาอ่านหน้านี้ได้ไงเนี่ย 555) ทั้งหมดที่ผมพูดมามันคือเรื่องเดียวกันหมดเลยครับ android เป็นสิ่งที่อยู่ในโทรศัพท์มือถือหลายยี่ห้อ มันมีหน้าที่เป็นชุดคำสั่งควบคุมการทำงานของ hardware ชิ้นต่างๆของโทรศัพท์เครื่องๆนั้น ไมว่าจะเป็น หน้าจอ กล้อง แป้นกด ลำโพง ไมค์ และอื่นๆทั้งหมด โดยมันยังทำหน้าตาออกมา ให้ติดต่อกับเจ้าของโทรศัพท์ได้ง่ายๆด้วย เช่นแสดงผลหน้าจอ ปุ่มกดเบอร์โทรศัพท์ อะไรเหล่านี้ นี่คือหน้าที่ทั้งหมด ของ android ครับ สรุป android คือ software ที่ติดต่อกับ hardware ทุกชิ้น และยังทำหน้าที่ควบคุมการทำงานทุกอย่างให้ทำงานร่วมกันได้เช่น ทำให้ ฟังเพลงพร้อมกับเล่นเกมส์ได้ หรือทำให้รับ sms พร้อมกับพิมพ์ email ได้ด้วย โดย android ยังเอื้อการทำงานหลายส่วนไปให้กับคนที่ชอบสร้างโปรแกรมอีกด้วย จึงจะพบว่าหลายคนเริ่มเขียนโปรแกรมเพื่อใช้งานบน android และหลายคนก็เขียนโปรแกรมขายเพื่อใช้บน android ด้วยซ้ำไป ซึ่งจุดนี้ ทำให้ android มีโปรแกรมที่ทำงานได้หลากหลายเหมือนกับคอมพิวเตอร์ที่เราใช้งานเลย เราสามารถดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกมส์ ท่อง internet chat กับเพื่อน comment hi5 facebook twitter ใช้เป็นเครื่องคิดเลข ปฏิทิน เป็นเข็มทิศ(บางรุ่น) เป็นแผนที่ เป็น GPS และอื่นๆอีกมากมาย เหนือจินตนาการ สำหรับ android นี้เป็นหนึ่งในแผนการครองโลกของ google ครับ (เรื่องจริงที่เอามาล้อเล่นกันบ่อยๆ 555) เพราะว่า google เป็นเจ้าของ และเป็นผู้ที่เริ่มสร้าง android ขึ้นมา (สร้างเลยนะครับ) โดย android นี้ google ก็ไม่ได้กีดกันคนทั่วไปที่อยากพัฒนา เพราะว่า google ยอมให้เอา android ไปพัฒนาต่อได้เอง โดยใครอยากเอาไปทำอะไรก็เต็มที่เลย ล่าสุดผมเห็นอุปกรณ์นำทางติดรถยนต์ (GPS) ก็ใช้ android แล้วเช่นกัน หรือ ผมก็เห็นพัฒนาเอามาใช้บน netbook แล้วด้วยเช่นกัน โดยคนที่เอาไปใช้ google ไม่ได้เก็บเงินเลยนะครับ เหมือนที่เรา search ด้วย google เราก็ไม่เสียเงินด้วยเหมือนกัน ดังนั้นเลยเป็นทางเลือกให้กับคนที่พัฒนาในการเลือกใช้ของฟรี มากกว่าจะใช้ตัวอื่น (ของฟรี ใครๆก็ชอบ) นั่นเป็นเหตุผลที่ว่าหลังๆมานี้ หลายคนจะได้ยินเรื่องของ android มากขึ้น
แต่ หลายคนก็มักจะเอา android ไปเปรียบกับ OS อื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น iOS ของ iphone windows mobile ที่เป็นของ microsoft โดยเฉพาะ android เปรียบกับ ios นี่จะเป็นอะไรที่ได้ยินกันบ่อยมากๆ เพราะว่าความสามารถมันทัดเทียมกันนั่นเอง แต่อย่างไรก็ดีในตอนที่เขียนบทความนี้ android ไม่ได้เป็นตัวเลือกของคนส่วนใหญ่รวมทั้งหลายคนลองใช้แล้วก็ต้องขายทิ้งด้วยซ้ำ ด้วยความที่ว่ามันเหมือนเป็นโทรศัพท์ของ programmer ใช้กัน(คนชอบพูดกันแบบนี้) แต่ว่าในความเป็นจริง เป็นเพราะว่า android นั่นพึ่งจะรันมาได้ไม่นาน (ตัวแรกอย่างเป็นทางการคือ version 1.1 เมื่อกุมภาพันธ์ 2009) ดังนั้น ผ่านมาแค่ปีครึ่งกว่าๆ ก็ยังพัฒนาไปได้ไม่มาก ก็เป็นเรื่องปกติ จึงทำให้หลายคนไม่ถูกใจเมื่อใช้งานนั่นเอง เมื่อเอาไปเทียบกับ เจ้าอื่นที่ทำกันมานานหลายปีแล้ว (window mobile 10 ปี นับตั้งแต่ยังเป็น pocket pc หรือ iOS ของ apple ที่มีมาตั้งแต่ปี 2007)
ที่มา http://www.techmoblog.com/android_phone_guide/ วันที่ 18 มิถุนายน 2556





3.Cyberbullying  หมายถึงอะไร
การกลั่นแกล้งในโลกไซเบอร์คือการประทุษร้ายหรือทำให้ผู้อื่นอับอายผ่านทางการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น อีเมล์, การส่งข้อความ, บล็อก, เว็บไซต์, ชุมชนออนไลน์, เมสเสจ, และโทรศัพท์ สิ่งที่นักเลงไซเบอร์ตั้งใจคือการแสดงความเป็นศัตรูหรือแสดงออกในแง่ลบต่ออีกฝ่ายนั่นเองการกลั่นแกล้งในโลกไซเบอร์อาจรวมถึงสิ่งพิมพ์หรือการส่งผ่านข้อมูลที่เป็นเรื่องส่วนตัวของคนหนึ่งไปยังสถานที่สาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของ เช่น การเซฟภาพเจ้านายใส่ชุดบิกินี่ในวันพักผ่อนจากเฟซบุ้คของเจ้านายไปเผยแพร่ต่อทางฟอร์เวิร์ดเมล์ หรือการนำภาพแอบถ่ายในห้องน้ำของใครสักคนที่ได้รับมาไปโพสหน้าเว็บไซต์ให้คนอื่นดูด้วยกัน เป็นต้นนอกจากนั้นนักเลงไซเบอร์อาจจะส่งข้อความให้ร้ายไปยังผู้อื่น หรือเขียนคอมเมนต์ในเว็บไซต์หรือบล็อกที่เป็นการต่อว่า การประทุษร้ายซ้ำๆ หลายครั้งแม้จะดูเป็นบาดแผลที่ห่างไกลหัวใจจนไม่น่าใส่ใจสำหรับผู้ใหญ่ แต่สำหรับเด็กหรือวัยรุ่นถือเป็นการทำร้ายที่รุนแรงมาก ส่งผลให้รู้สึกซึมเศร้า, หงุดหงิดอาละวาด, และทำร้ายตัวเองจากอารมณ์หุนหันพลันแล่นได้
ทำไมนักเลงไซเบอร์ถึงมีมากขึ้น
มีหลายทฤษฎีอธิบายว่าการเพิ่มขึ้นของการประทุษร้ายออนไลน์ส่วนหนึ่งเกิดจากเด็กที่มีลักษณะชอบแกล้งผู้อื่นอยู่แล้ว เปลี่ยนวิธีการมาใช้อินเตอร์เน็ตแทนการแกล้งโดยตรงที่โรงเรียนเนื่องจากปลอดภัยจากสายตาของผู้ใหญ่มากกว่าแม้เว็บไซต์หลายแห่งมีผู้ดูแลเป็นผู้ใหญ่และสามารถควบคุมให้ผู้ใช้บริการรักษากติกาและใช้ภาษาที่เหมาะสมได้ แต่นักเลงไซเบอร์ก็อาจป้วนเปี้ยนแถวๆ นั้นและหาโอกาสจ้องทำร้ายด้วยการเอาคำพูดของผู้ดูแลไปปรับเปลี่ยนให้ดูแย่ลง หรือปล่อยข่าวลือด้านลบต่อเว็บไซต์แห่งนั้นได้เช่นกัน ปัจจุบันนี้หลายประเทศได้ประกาศใช้พรบ.ป้องกันการกระทำผิดทางอินเตอร์เน็ตแล้ว และยอมรับว่าผู้ที่ทำตัวเป็นนักเลงไซเบอร์เป็น “อาชญากร” ด้วย แม้แต่การเขียนคอมเมนต์ที่เป็นการสบประมาทในเรื่องเชื้อชาติ, ศาสนา, เผ่าพันธุ์, หรือเพศก็จัดเป็นการกระทำผิดด้วยเช่นกัน
ที่มา http://healthkm.exteen.com/20101006/cyberbullying   วันที่ 18 มิถุนายน